No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
260 | พรหมามุขวงศาวลี/พงศาวลี | พฺรหฺมา มุข วงฺศาวลี | ब्रह्मा मुख वंशावली ![]() | ![]() Brahmā mukh vaṃśāvalī | พรหมากุมารและกุมารี เกิดจากความรู้ที่อาตมาได้รับจากศิวพาพาสอนผ่านปากของพรหมา นั่นคือ พรหมามุขพงศาวลี พาพากล่าวว่า พราหมณ์ทางโลก คือ กุขพงศาวลี หมายถึง ผู้ที่เกิดจากกาม (ตัณหา ราคะ) ผ่านครรภ์ มุข หมายถึง ปาก พงศาวลี หมายถึง ลำดับเครือญาติที่เกิดตามกันมา โดย พงศ์ หรือ วงศ์ หมายถึง ตระกูล เหล่ากอ และ วลี หมายถึง เกิดเรียงตามกันมา |
265 | พราหมณ์ | พฺราหฺมณ | ब्राह्मण ![]() | ![]() Brāhman | พราหมณ์ คือ พรหมามุขพงศาวลี ผู้ที่เกิดจากความรู้ที่ศิวพาพามาสอนผ่านปากขอพรหมา พราหมณ์ เป็นวรรณะสูงสุดในอินเดีย ที่เปรียบกับโจฏี (สูงสุด หรือ จุกที่เป็นจุดสูงสุดของร่างกาย) และเป็นอนุสรณ์ของพราหมณ์ทางโลกที่ไว้จุกกัน มุขพงศาวลี หมายถึง พงศ์ (วงศ์) ที่เกิดเรียงตามกันมา (วลี) ผ่าน มุข หมายถึง ปาก ของพรหมา ในบางครั้ง พาพาใช้คำว่า พราหมณ์ หมายถึง พราหมณ์ชาย และ พราหมณี หมายถึง พราหมณ์หญิง |
266 | พราหมณ์ เทวดา กษัตริย์ แพศย์ (ไวศยะ) ศูทร | พฺราหฺมณ เทวตา กฺษตฺริย ไวศฺย ศูทฺร | ब्राह्मण देवता क्षत्रिय वैश्य शूद्र ![]() | Brāhman Devatā Kṣatriya Vaiśya Śūdra | อาตมาได้ผ่าน 5 วรรณะ หมายถึง สภาพของความบริสุทธิ์และคุณสมบัติต่างๆ ในวงจรของ 5 ยุค ได้แก่ 1. พราหมณ์ (สังคมยุค) คือ สภาพจรตีกลา ของการไต่ขึ้นสูง แสดงด้วยจุก สูงสุดของร่างกาย 2. เทวดา (สัตยุค) คือ สภาพสโตประธาน แสดงด้วยหน้าผาก ใบหน้าของร่างกาย 3. กษัตริย์ (เตรตายุค) คือ สภาพสโต แสดงด้วยไหล่ อกของร่างกาย 4. แพศย์ (ทวาปรยุค) คือ สภาพรโช แสดงด้วยท้องของร่างกาย 5. ศุูทร (กลียุค) คือ สภาพตโมประธาน แสดงด้วยเท้าของร่างกาย โดยทางโลกได้อธิบายและจัดแบ่งชนเป็น 4 วรรณะ มีลักษณะหน้าที่ต่างกัน ดังนี้ 1. วรรณะพราหมณ์ มีหน้าที่ กล่าวมนตร์ ให้คำปรึกษาแก่พระเจ้าแผ่นดิน ส่วนพวกนักบวชทำหน้าที่สอนศาสนา 2. วรรณะกษัตริย์ หมายถึง นักรบ ทำหน้าที่รบเพื่อป้องกันอาณาจักร รวมทั้งพระเจ้าแผ่นดิน นักปกครอง 3. วรรณะแพศย์ มีหน้าที่เป็น พ่อค้า คหบดี เศรษฐี และเกษตรกร 4. วรรณะศูทร มีหน้าที่เป็น ผู้ใช้แรงงาน กรรมกร ลูกจ้าง แต่จะไม่กล่าวถึง เทวดา เพราะมนุษย์เข้าใจกันว่า เทวดา อยู่บนท้องฟ้า ไม่ได้อยู่ที่โลกนี้ อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้เป็นการสืบทอดวรรณะในทางสายเลือด ไม่ได้ตามหน้าที่ใดๆ จรตีกลา มีความหมายว่า สภาพของการไต่ขึ้นสูง ตรงข้ามกลับ อุตรตีกลา ที่หมายถึง สภาพของการตกต่ำลงมา วรรณะ เป็นคำสันสกฤตที่หมายถึง สี ผิว ชนิด เพศ |