No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
41 | อาทิเทวา/เทวะ/เทพ | อาทิ เทว | आदि देव ![]() | ![]() Ādi Dev | อาทิเทวา เทวะ หรือ เทพ หมายถึง เทวา เทวะ หรือ เทพองค์แรก พรหมา ได้รับการจดจำในสมญาต่างๆ ว่าเป็น เทพองค์แรก มนุษย์คนแรก อดัม เป็นต้น อาทิ แปลว่า ต้น แรก |
43 | อาทินาถ | อาทิ นาถ | आदि नाथ ![]() | ![]() Ādi Nāth | อาทินาถ เป็นสมญาที่เรียก พรหมาพาพา โดยวัดเทลวารา/ทิลวาลา ที่ภูเขาอาพู ได้รับการเรียกว่าเป็นวัดอาทินาถ ด้วย ในหนทางภักดี ได้มีการสร้างวัดอาทินาถ ให้กับศิวพาพา วิษณุและกฤษณะ อาทินาถ มาจากคำว่า อาทิ แปลว่า ต้น แรก และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง |
123 | ชคัตบิดา | ชคต ปิตา | जगत पिता ![]() | ![]() Jagat pitā | ชคัตบิดา มาจากสองคำ ได้แก่ ชคัต แปลว่า โลก กับคำว่า บิดา ดังนั้นชคัตบิดา จึงหมายถึง บิดาของโลก ชคัตบิดา เป็นสมญาของพรหมาพาพา ผู้เป็นบิดาของโลก |
165 | ทาทา | ทาทา | दादा ![]() | ![]() dādā | สำหรับ ราชโยคะ คำว่า ทาทา ในภาษาฮินดี หมายถึง ปู่ คือ ศิวพาพา ไม่ใช่ พรหมาพาพา ในภาษาสินธี คำว่า ทาทา หมายถึง พี่ชายผู้อาวุโส คือ พรหมาพาพา หรือ ใช้เรียกภาย (พี่น้องชาย) อาวุโส ผู้ที่ร่วมยัญนี้ตั้งแต่เริ่มต้น |
195 | นนทิคณะ | นนฺทีคณ | नंदीगण ![]() | ![]() Nandīgaṇ | ในหนทางภักดี วัดของศิวะ ในฮินดูธรรม มีรูปปฏิมาของโคนนทิ (นนทิเป็นนามของไพละ โดย ไพละ หมายถึง วัวเพศผู้) ที่วางไว้ด้านหน้าศิวลึงค์ โดยเชื่อว่าโคนนทิ เป็นพาหนะของศิวะ แท้จริงแล้ว ศิวพาพาได้อวตารลงมาในร่างชายของพรหมาในสังคมยุค ทั้งนี้ ศิวพาพาใช้คำว่า 'นนทิคณะ' (กลุ่มของนนทิ) |
230 | ประชาปิตา/ประชาบิดา | ปฺรชาปิตา | प्रजापिता ![]() | ![]() Prajāpitā | ประชาปิตา มาจากคำว่า ประชา หมายถึง ประชาชน มวลมนุษย์ กับ ปิตา หมายถึง บิดา พ่อ ในสังคมยุค เมื่อศิวพาพาได้อวตารลงมาในร่างของ ทาทาเลขราช กฤปลานี เมื่อปี พ.ศ. 2479 ขณะที่ท่านมีอายุ 60 ปี และได้ให้ชื่อใหม่แก่ท่านว่า พรหมา เพื่อทำงานของการสถาปนาโลกใหม่ ยุคใหม่ โดยท่านได้เป็นร่างและเครื่องมือให้กับศิวพาพา ขณะเดียวกัน ท่านก็เพียรพยายามฝึกฝนปฏิบัติเป็นเวลา 33 ปี จนเข้าสู่สภาพสัมปันนและสมบูรณ์ของผริศตาที่อวยักตะ หรือ อาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) จากสาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) ในปี พ.ศ. 2512 ทั้งนี้ พรหมา ได้อุทิศตนทั้งอาตมาและร่างกายของท่าน เพื่อเป็นเครื่องมือในการยกระดับมวลมนุษย์ ท่านจึงได้รับสมญาว่า ประชาบิดา นอกจากนี้ ศิวพาพาได้เรียก ประชาบิดา พรหมา ว่าเป็น อเลากิก บิดา ผู้เป็นร่างและเครื่องมือให้กับศิวพาพา ในการรับลูกมาเป็นบุตรบุญธรรมและให้การหล่อเลี้ยง ในประเทศไทย ได้มีอนุสรณ์ของ "พรหมา" ทั่วทุกหนแห่ง โดยรู้จักในนามว่า "พระพรหม" สัมปันน เขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูปว่า สมฺปนฺน หมายถึง เต็มพร้อม ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย |
243 | พาปทาทา | พาปทาทา | बापदादा ![]() | ![]() Bāpdādā | ศิวพาพา และ พรหมาพาพา อยู่รวมกัน จึงเรียกว่า พาปทาทา นั่นคือ พาปะ หมายถึง ศิวพาพา ผู้เป็น บรมบิดา บรมาตมา และทาทา หมายถึง พรหมาพาพา ผู้เป็นพี่ชายที่อาวุโส โดยคำว่า ทาทา ในภาษาสินธี แปลว่า พี่ชายที่อาวุโส ทั้งนี้ คำว่า ทาทา ในภาษาฮินดี หมายถึง ปู่ นั่นคือ ศิวพาพา ไม่ใช่ พรหมาพาพา พาพาและพาปะ เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ |
257 | พรหมา (อ่านว่า พฺรม-มา) | พฺรหฺมา | ब्रह्मा ![]() | ![]() Brahmā | พรหมา คือ ภาคีรถของศิวพาพา โดยภาคีรถ มาจากคำว่า ภาคย์ แปลว่า มีโชค โชคดี รวมกับคำว่า รถ (พาหนะ) หมายถึง ร่างของพรหมา ดังนั้นพรหมา คือ รถที่โชคดีที่ศิวพาพามาใช้ทำงานของการสถาปนาสัตยุค โลกใหม่ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ พรหมาจึงเป็นนามหนึ่งในตรีมูรติ พรหมา ในหนทางภักดีและตำนาน รู้จักว่าเป็นเทวดาที่ละเอียดอ่อน เป็นผู้สร้าง ผู้เป็นพ่อและคู่ครองของสรัสวดี (เทวีของความรู้) และมีพาหนะเป็นหงส์ โดยพรหมา ได้รับนามเรียกต่างๆว่า พระพรหม พรหมธาดา ประชาบดี หงสรถ หรือ หงสวาหน จตุรพักตร์ และ ปรเมษฐ์ เป็นต้น ในราชโยคะ พรหมา คือ ผู้ที่ได้กลายมาเป็นบุตรบุญธรรมของศิวพาพา ซึ่งพรหมาเป็นร่างและเครื่องมือให้กับศิวพาพา จึงได้รับนามใหม่ว่า พรหมา จากนามเดิม ทาทาเลขราช กฤปลานี ได้มีอนุสรณ์หลักของพรหมา คือ วัดพรหมา ตั้งอยู่ที่ตำบลปุศกระ เมืองอัชเมระ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย และมีอยู่ทั่วทุกหนแห่งในประเทศไทย โดยรู้จักในนามว่า "พระพรหม" |
258 | พรหมาเทวดา | พฺรหฺมา เทวตา | ब्रह्मा देवता ![]() | ![]() Brahmā Devatā | พรหมาเทวดา ได้รับการจดจำว่าเป็นหนึ่งในบทบาทของตรีมูรติ (พรหมา วิษณุ และศังกร) |
259 | พรหมาโภชนะ (อ่านว่า พฺรม-มา-โพด-ชะ-นะ) | พฺรหฺมา โภชน | ब्रह्मा भोजन ![]() | ![]() Brahmā bhojan | พรหมาโภชนะ คือ อาหารสาตวิก (บริสุทธิ์) เป็นมังสวิรัติ ที่ไม่มีเนื้อสัตว์ หัวหอม กระเทียม ใดๆ ซึ่งทำขณะที่อยู่ในการจดจำระลึกถึงศิวพาพา และถวายให้กับศิวพาพาผ่านพรหมา ผู้เป็นสื่อกลาง โภชนะ แปลว่า อาหาร |
261 | พรหมากุมาร (อ่านว่า พฺรม-มา-กุ-มาน) | พฺรหฺมา กุมาร | ब्रह्माकुमार ![]() | ![]() Brahmākumār | กุมารของพรหมา ผู้ที่เกิดจากความรู้ที่ศิวพาพามาสอนผ่านปากของพรหมา นั่นคือ พรหมามุขพงศาวลี พรหมากุมาร คือ ผู้ทำตามทั้งศรีมัตของศิวพาพา และพรหมา ผู้เป็นเครื่องมือให้กับศิวพาพา กุมาร หมายถึง ลูกชาย และ มุขพงศาวลี หมายถึง พงศ์ (วงศ์) ที่เกิดเรียงตามกันมา (วลี) ผ่าน มุข หมายถึง ปากของพรหมา |
262 | พรหมากุมารี (อ่านว่า พฺรม-มา-กุ-มา-รี) | พฺรหฺมา กุมารี | ब्रह्माकुमारी ![]() | ![]() Brahmākumārī | กุมารีของพรหมา ผู้ที่เกิดจากความรู้ที่ศิวพาพามาสอนผ่านปากของพรหมา นั่นคือ พรหมามุขพงศาวลี พรหมากุมารี คือ ผู้ทำตามทั้งศรีมัตของศิวพาพา และพรหมา ผู้เป็นเครื่องมือให้กับศิวพาพา กุมารี หมายถึง ลูกสาว และ มุขพงศาวลี หมายถึง พงศ์ (วงศ์) ที่เกิดเรียงตามกันมา (วลี) ผ่าน มุข หมายถึง ปาก ของพรหมา |
265 | พราหมณ์ | พฺราหฺมณ | ब्राह्मण ![]() | ![]() Brāhman | พราหมณ์ คือ พรหมามุขพงศาวลี ผู้ที่เกิดจากความรู้ที่ศิวพาพามาสอนผ่านปากขอพรหมา พราหมณ์ เป็นวรรณะสูงสุดในอินเดีย ที่เปรียบกับโจฏี (สูงสุด หรือ จุกที่เป็นจุดสูงสุดของร่างกาย) และเป็นอนุสรณ์ของพราหมณ์ทางโลกที่ไว้จุกกัน มุขพงศาวลี หมายถึง พงศ์ (วงศ์) ที่เกิดเรียงตามกันมา (วลี) ผ่าน มุข หมายถึง ปาก ของพรหมา ในบางครั้ง พาพาใช้คำว่า พราหมณ์ หมายถึง พราหมณ์ชาย และ พราหมณี หมายถึง พราหมณ์หญิง |
280 | ภาคีรถ | ภาคีรถ | भागीरथ ![]() | ![]() Bhāgīrath | ภาคีรถ มาจากคำว่า ภาคย์ แปลว่า มีโชค โชคดี รวมกับคำว่า รถ (พาหนะ) หมายถึง ร่างของพรหมา ดังนั้น พรหมา คือ รถที่โชคดี ที่ศิวพาพาเข้ามาใช้ในสังคมยุค เพื่อทำงานของการสถาปนาสัตยุคโลกใหม่ที่สมบูรณ์ ในหนทางภักดีกล่าวว่า ราชาภาคีรถ ได้ออกบำเพ็ญตบะขอพร เพื่อให้ เทวีคงคาปล่อยน้ำลงจากสวรรค์ ไหลผ่านกองกระดูกของบรรดาบรรพบุรุษของตนที่ถูกสาปไว้ จึงจะพ้นบาปได้ แต่พื้นดินจะต้านพลังและกำลังน้ำไม่ไหว ต่อมาภาคีรถจึงได้ขอให้ศังกร (ซึ่งเชื่อกันว่าศิวะและศังกรเป็นองค์เดียวกัน) ช่วยเหลือ ด้วยการให้เทวีคงคาที่ประทานน้ำให้ตกลงมาที่ที่มวยผมของศังกร ก่อนที่จะไหลลงสู่แผ่นดินในโลกมนุษย์ โดยมีนัยสำคัญว่า ศังกร ก็คือ ศิวพาพา ผู้ที่ใช้มวยผมรองรับแม่น้ำคงคา หมายถึง เป็นผู้ที่มีพุทธิเต็มไปด้วยญาณ ซึ่งเปรียบกับแม่น้ำคงคาอันทรงพลัง โดยมีภาคีรถ คือ พรหมา เป็นเครื่องมือที่ศิวพาพาให้ญาณแก่มวลมนุษย์ ผ่านมุข (ปาก) ของพรหมา ในหนทางภักดียังกล่าวว่า ต้นกำเนิดบรรพบุรุษของภาคีรถมีนามว่า สคร แท้จริงแล้ว หมายถึง ศิวพาพา ผู้เป็นสาครแห่งญาณ เมื่อลูกของท่านตกเข้าไปสู่กิเลส จึงถูกสาปแช่งกลายเป็นกระดูกและเถ้าถ่าน ดังกล่าวข้างต้น |
411 | ศิวาลัย | ศิวาลย | शिवालय ![]() | ![]() Śivālay | ศิวาลัย มาจากคำว่า ศิวะ กับ อาลัย ที่หมายถึง ที่อยู่ ที่พัก ศิวาลัย มีหลายความหมาย ได้แก่ 1. วัดที่มีการสร้างศิวลึงค์ 2. สถานที่ที่ศิวะอาศัยอยู่ นั่นคือ บรมธามะ นิราการีโลก หรือศิวบุรี 3. สวรรค์ที่สร้างโดยศิวะ 4. รถ (ร่าง) ของพรหมาที่ศิวะมาใช้ นั่นหมายถึง ศิวาลัยที่มีชีวิต |