No. | 1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ | 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป | 3. ภาษาฮินดี | 4. อักษรโรมัน | 5. ความหมายในภาษาไทย |
---|---|---|---|---|---|
15 | อนุราเธ | อนุราเธ | अनुराधे ![]() | AnuRādhe | พาพาได้ลงมายังโลกมนุษย์ในสังคมยุค เพื่อทำให้ลูกกลับมาปุรุโษตตมะ นั่นคือ เป็นผู้ที่สูงสุดของทั้งกัลป์ ดังนั้นอาตมาของสังคมยุคจึงมีความยิ่งใหญ่และสภาพสูงกว่าอาตมาของสัตยุค พาพากล่าวว่า ราเธของสังคมยุคก็จะกลายเป็นอนุราเธในสัตยุค หมายถึง ความยิ่งใหญ่และสภาพที่น้อยกว่า หรือรองลงมา อนุ แปลว่า เล็ก น้อย ตามมา ภายหลัง มัมมา ผู้เป็นแม่ของยัญ และได้รับสมญา สรัสวดี ชคัตอัมพา และ มาเตศวรี เป็นต้น จะกลายเป็นราเธ เจ้าหญิงองค์แรกของสัตยุค และหลังจากแต่งงานกับกฤษณะ ได้รับนามใหม่ว่า "ลักษมี" คู่กับนารายณ์ |
41 | อาทิเทวา/เทวะ/เทพ | อาทิ เทว | आदि देव ![]() | ![]() Ādi Dev | อาทิเทวา เทวะ หรือ เทพ หมายถึง เทวา เทวะ หรือ เทพองค์แรก พรหมา ได้รับการจดจำในสมญาต่างๆ ว่าเป็น เทพองค์แรก มนุษย์คนแรก อดัม เป็นต้น อาทิ แปลว่า ต้น แรก |
42 | อาทิเทวี | อาทิ เทวี | आदि देवी ![]() | ![]() Ādi Devī | อาทิเทวี หมายถึง เทวีองค์แรก มัมมา ได้รับการจดจำในสมญาต่างๆ ว่าเป็น เทวีองค์แรก มนุษย์คนแรก อีฟ เป็นต้น อาทิ แปลว่า ต้น แรก |
43 | อาทินาถ | อาทิ นาถ | आदि नाथ ![]() | ![]() Ādi Nāth | อาทินาถ เป็นสมญาที่เรียก พรหมาพาพา โดยวัดเทลวารา/ทิลวาลา ที่ภูเขาอาพู ได้รับการเรียกว่าเป็นวัดอาทินาถ ด้วย ในหนทางภักดี ได้มีการสร้างวัดอาทินาถ ให้กับศิวพาพา วิษณุและกฤษณะ อาทินาถ มาจากคำว่า อาทิ แปลว่า ต้น แรก และ นาถ แปลว่า นาย ผู้เป็นที่พึ่ง |
122 | ชคัตอัมพา | ชคต อมฺพา | जगत अम्बा ![]() | ![]() Jagat ambā | ชคัตอัมพา มาจากสองคำ ได้แก่ ชคัต แปลว่า โลก และ อัมพา แปลว่า แม่ มารดา ดังนั้นชคัตอัมพา จึงหมายถึง มารดาของโลก ชคัตอัมพา เป็นสมญาของมัมมา ผู้เป็นมารดาของโลก |
125 | ชัคทัมพา | ชคทมฺพา | जगदम्बा ![]() | ![]() Jagadambā | ชัคทัมพา มาจากสองคำ ได้แก่ ชคัต แปลว่า โลก และ อัมพา แปลว่า แม่ มารดา ดังนั้นชัคทัมพา จึงหมายถึง มารดาของโลก ชัคทัมพา เป็นสมญาของมัมมา ผู้เป็นมารดาของโลก |
230 | ประชาปิตา/ประชาบิดา | ปฺรชาปิตา | प्रजापिता ![]() | ![]() Prajāpitā | ประชาปิตา มาจากคำว่า ประชา หมายถึง ประชาชน มวลมนุษย์ กับ ปิตา หมายถึง บิดา พ่อ ในสังคมยุค เมื่อศิวพาพาได้อวตารลงมาในร่างของ ทาทาเลขราช กฤปลานี เมื่อปี พ.ศ. 2479 ขณะที่ท่านมีอายุ 60 ปี และได้ให้ชื่อใหม่แก่ท่านว่า พรหมา เพื่อทำงานของการสถาปนาโลกใหม่ ยุคใหม่ โดยท่านได้เป็นร่างและเครื่องมือให้กับศิวพาพา ขณะเดียวกัน ท่านก็เพียรพยายามฝึกฝนปฏิบัติเป็นเวลา 33 ปี จนเข้าสู่สภาพสัมปันนและสมบูรณ์ของผริศตาที่อวยักตะ หรือ อาการ (ร่างแสงที่ละเอียดอ่อน) จากสาการ (ร่างกายที่เป็นวัตถุธาตุ) ในปี พ.ศ. 2512 ทั้งนี้ พรหมา ได้อุทิศตนทั้งอาตมาและร่างกายของท่าน เพื่อเป็นเครื่องมือในการยกระดับมวลมนุษย์ ท่านจึงได้รับสมญาว่า ประชาบิดา นอกจากนี้ ศิวพาพาได้เรียก ประชาบิดา พรหมา ว่าเป็น อเลากิก บิดา ผู้เป็นร่างและเครื่องมือให้กับศิวพาพา ในการรับลูกมาเป็นบุตรบุญธรรมและให้การหล่อเลี้ยง ในประเทศไทย ได้มีอนุสรณ์ของ "พรหมา" ทั่วทุกหนแห่ง โดยรู้จักในนามว่า "พระพรหม" สัมปันน เขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูปว่า สมฺปนฺน หมายถึง เต็มพร้อม ผริศตาหรือปรี หมายถึงสภาพแสงและเบาสบายที่อยู่เหนือความรู้สึกนึกคิดทางร่างกาย ไม่มีพันธนะของร่างกายและความสัมพันธ์ทางร่างกาย |
243 | พาปทาทา | พาปทาทา | बापदादा ![]() | ![]() Bāpdādā | ศิวพาพา และ พรหมาพาพา อยู่รวมกัน จึงเรียกว่า พาปทาทา นั่นคือ พาปะ หมายถึง ศิวพาพา ผู้เป็น บรมบิดา บรมาตมา และทาทา หมายถึง พรหมาพาพา ผู้เป็นพี่ชายที่อาวุโส โดยคำว่า ทาทา ในภาษาสินธี แปลว่า พี่ชายที่อาวุโส ทั้งนี้ คำว่า ทาทา ในภาษาฮินดี หมายถึง ปู่ นั่นคือ ศิวพาพา ไม่ใช่ พรหมาพาพา พาพาและพาปะ เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ |
257 | พรหมา (อ่านว่า พฺรม-มา) | พฺรหฺมา | ब्रह्मा ![]() | ![]() Brahmā | พรหมา คือ ภาคีรถของศิวพาพา โดยภาคีรถ มาจากคำว่า ภาคย์ แปลว่า มีโชค โชคดี รวมกับคำว่า รถ (พาหนะ) หมายถึง ร่างของพรหมา ดังนั้นพรหมา คือ รถที่โชคดีที่ศิวพาพามาใช้ทำงานของการสถาปนาสัตยุค โลกใหม่ที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ พรหมาจึงเป็นนามหนึ่งในตรีมูรติ พรหมา ในหนทางภักดีและตำนาน รู้จักว่าเป็นเทวดาที่ละเอียดอ่อน เป็นผู้สร้าง ผู้เป็นพ่อและคู่ครองของสรัสวดี (เทวีของความรู้) และมีพาหนะเป็นหงส์ โดยพรหมา ได้รับนามเรียกต่างๆว่า พระพรหม พรหมธาดา ประชาบดี หงสรถ หรือ หงสวาหน จตุรพักตร์ และ ปรเมษฐ์ เป็นต้น ในราชโยคะ พรหมา คือ ผู้ที่ได้กลายมาเป็นบุตรบุญธรรมของศิวพาพา ซึ่งพรหมาเป็นร่างและเครื่องมือให้กับศิวพาพา จึงได้รับนามใหม่ว่า พรหมา จากนามเดิม ทาทาเลขราช กฤปลานี ได้มีอนุสรณ์หลักของพรหมา คือ วัดพรหมา ตั้งอยู่ที่ตำบลปุศกระ เมืองอัชเมระ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย และมีอยู่ทั่วทุกหนแห่งในประเทศไทย โดยรู้จักในนามว่า "พระพรหม" |
258 | พรหมาเทวดา | พฺรหฺมา เทวตา | ब्रह्मा देवता ![]() | ![]() Brahmā Devatā | พรหมาเทวดา ได้รับการจดจำว่าเป็นหนึ่งในบทบาทของตรีมูรติ (พรหมา วิษณุ และศังกร) |
296 | มัมมา | มมฺมา | मम्मा ![]() | ![]() mammā | มัมมา คือ แม่ของยัญ ผู้เล่นบทบาทที่สำคัญยิ่งในการดูแลยัญตั้งแต่เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2479 จนถึง วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ที่เข้าสู่สภาพกรรมาดีต และได้ละร่างไปเล่นบทบาทของการทำเสวาที่ละเอียดอ่อน ทั้งนี้ มัมมาได้รับสมญาว่า สรัสวดี ชคัตอัมพา และ มาเตศวรี เป็นต้น มัมมาจะกลายเป็นราเธ เจ้าหญิงองค์แรกของสัตยุค และหลังจากแต่งงานกับกฤษณะ ได้รับนามใหม่ว่า "ลักษมี" คู่กับนารายณ์ คำว่า มัมมา แปลว่า แม่ |
303 | มาเตศวรี | มาเตศฺวรี | मातेश्वरी ![]() | ![]() Māteśvarī | มาเตศวรี เป็นสมญาของมัมมา ผู้ดูแลยัญของพาพา มาเตศวรี มาจากคำว่า มาตา หมายถึง มารดา กับ อิศวรี เป็นสมญาของอาตมาในร่างหญิง |
336 | ราช-ราเชศวรี | ราช-ราเชศฺวรี | राज-राजेश्वरी ![]() | ![]() Rāj-rājeśvarī | ราช-ราเชศวรี เป็นสมญาของมัมมา ผู้เป็นอาตมาในร่างหญิง หมายถึง ผู้ได้รับราชจากอิศวร นั่นคือ อำนาจในการปกครองตนเองและปกครองโลก เป็นมหารานีของรานีทั้งหมด ราเชศวรี มาจากคำว่า ราช หมายถึง อำนาจในการปกครอง และ อิศวรี เป็นสมญาของอาตมาในร่างหญิง หมายถึง ผู้กลายเป็นมหารานี อิศวร เป็นอีกนามหนึ่งของ "ศิวะ" ผู้เป็นบรมบิดา บรมาตมา |
343 | ราเธ | ราเธ | राधे ![]() | ![]() rādhe | มัมมา คือ แม่ของยัญ ผู้เล่นบทบาทที่สำคัญยิ่ง ตั้งแต่เริ่มต้นยัญ ในปี พ.ศ. 2479 จนถึง พ.ศ. 2508 ทั้งนี้ มัมมาได้รับสมญาว่า สรัสวดี ชคัตอัมพา และ มาเตศวรี เป็นต้น ซึ่งจะกลายเป็น ราเธ เจ้าหญิงองค์แรกของสัตยุค และหลังจากแต่งงานกับกฤษณะ ได้รับนามใหม่ว่า "ลักษมี" คู่กับนารายณ์ |
390 | ศังกร | ศงฺกร | शंकर ![]() | ![]() Śaṅkar | ศังกร เป็นหนึ่งในสามของเทวดาที่ละเอียดอ่อนที่แสดงไว้ในตรีมูรติ ศังกร เป็นสัญลักษณ์แสดงสภาพที่สมบูรณ์ของพรหมาในการสละละทิ้ง (ตยาค) และตปัสยา (ตบะ) ด้วยเหตุนี้เองในหนทางภักดีได้แสดงว่าศังกรอยู่ในท่านั่งของการทำสมาธิที่มีโยคะอย่างมั่นคงกับศิวะ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้กิเลสทั้งห้า เกิดวินาศไป ดังนั้น จึงได้มีการแสดงว่า ศิวะ ตรีมูรติ ทำให้โลกที่มีกิเลสเกิดวินาศด้วยศังกร |
400 | ศิวะ | ศิว | शिव ![]() | ![]() Śiv | นามดั้งเดิมและตลอดไปของบรมบิดา บรมอาตมา มีความหมายว่า จุด เมล็ด และผู้ให้กัลยาณ กัลยาณ หมายถึง ดีงาม ประเสริฐ คุณประโยชน์ |
406 | ศิวพาพา | ศิวพาพา | शिवबाबा ![]() | ![]() Śivabābā | ศิวะ คือ นามของบรมบิดา บรมอาตมา และ พาพา เป็นคำที่แสนหวานที่เรียกหรือกล่าวถึงศิวะ ผู้เป็นพ่อ ด้วยความรักและใกล้ชิด ดังนั้น เราจึงเรียกท่านว่า ศิวพาพา พาพา เป็นรากศัพท์ของคำว่า พ่อ |
409 | ศิวาจารย์ | ศิวาจารยะ | शिवाचार्य ![]() | ![]() Śivācārya | ศิวาจารย์ เป็นสมญาที่ให้ไว้กับศิวพาพา ที่หมายถึง ศิวะ ผู้เป็นอาจารย์ อาจารย์ เป็นคำสันสกฤต หมายถึง ผู้ที่สอนด้วยการประพฤติ ปฏิบัติของตนเอง หรือ ครูผู้ที่ใช้การดำเนินชีวิตเป็นตัวอย่าง ศิวพาพา คือ สาครของญาณ และดังนั้น ท่าน คือ ศิวาจารย์ ผู้ให้ญาณแก่ลูก ศิวาจารย์ มาจากคำว่า ศิวะ กับ อาจารย์ สาคร หมายถึง มหาสมุทร |
434 | สรัสวดี | สรสฺวตี | सरस्वती ![]() | ![]() Sarasvatī | เทวีแห่งวิทยา ดนตรี และ ศิลปวิทยาของฮินดูธรรม แท้จริงแล้ว สรัสวดี คือ พรหมากุมารี ลูกสาวของพรหมาในสังคมยุค ในหนทางภักดี ได้มีการแสดงวีณาไว้กับสรัสวดี ผู้เป็นเทวีแห่งวิทยา นั่นคือ บทบาทของมัมมา ที่ให้ความรู้ของพาพาแก่ผู้อื่น และได้รับสมญาว่าสรัสวดี ส่งเสียงดนตรีที่เปรียบกับความรู้ ในมุรลีพาพากล่าวว่า ได้มีการแสดงสิตารไว้กับสรัสวดี เนื่องด้วย มัมมาเล่นสิตารในชีวิตจริง สิตาร เป็นเครื่องดนตรีของฮินดูสถานประเภทเครื่องสาย สำหรับดนตรีคลาสสิก ที่อยู่ในกลุ่มด้วยกับวีณา (คล้ายพิณใหญ่ของไทย) สรัสวดี ภาษาไทยใช้ว่า สุรัสวดี ก็มี |