พจนานุกรมภาษาฮินดี-ไทย-อังกฤษ จากมุรลีที่ใช้ในภาษาไทยและเกี่ยวข้องกับภาษาไทย



สารจาก
ทาทีชานกี
ทีทีนิรมล
ทีทีศีลู



last update: Nov 13 2024 16:41
รับฟังย้อนหลัง คลิกที่นี่


ประเด็นตอนต้น
และท้ายของมุรลี



วรทาน

"เสี่ยงพร" ได้ที่นี่

วีดีโอบทการทำสมาธิของราชโยคะ


วีดีโอเพลงประกอบความรู้ของราชโยคะ


รับชม "วีดีโอพร" ได้ที่นี่



สารจากผู้จัดทำ



ติดต่อ


ตารางเทียบเสียงสระและพยัญชนะภาษาฮินดี

  คลิกเพื่อรับชมวีดีโอญาณ หรือสแกนคิวอาร์โค้ด  

สารบัญ - ประเภทของคำศัพท์ (คลิกเพื่อดู)
  1. ประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย Brahma Kumaris World Spiritual University
  2. สี่วิชา – อลังการของวิษณุ Four Subjects - Decorations of Vishnu
  3. มุรลี และ ญาณ Murli and Gyan
  4. องค์ประกอบและความสามารถของอาตมา Faculties, Abilities of Soul องค์ประกอบและความสามารถของอาตมา
  5. นามของบรมบิดา บรมาตมา Names of the Supreme Father, Supreme Soul
  6. การยกย่องสรรเสริญของศิวพาพาในสังคมยุค Shiv Baba’s Praise at the Confluence Age
  7. มาลา – สายลูกประคำ Rosaries
  8. ตัวละครในมหาภารตะ รามายณะ และภาควัต พร้อมทั้งคำอธิบายนามของตัวละครตามญาณของพาพา Characters of Mahabharat, Ramayan, and Bhagawad including Explanation of their Names according to Baba's Gyan
  9. เรื่องเล่า ตัวละคร พิธีกรรม และนามต่างๆ ของหนทางภักดีและโดยทั่วไป ที่กล่าวไว้ในมุรลี General and Bhakti Path Stories, Characters, Rituals and Names mentioned in Murlis
  10. ธรรม ผู้สถาปนาธรรม คุรุ และคัมภีร์ต่างๆ ของหนทางภักดีที่กล่าวไว้ในมุรลี Religions, Religion Founders, Gurus and Scriptures of Bhakti Path mentioned in Murlis
  11. เทศกาลในหนทางภักดีที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุค Bhakti Festivals related to the Confluence Age
  12. สถานที่ เมือง รัฐ และพลเมืองต่างๆ ที่กล่าวไว้ในมุรลี Places, Towns, States and Citizens mentioned in Murlis
  13. วัดและอนุสรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุค Temples, Memorials related to the Confluence Age
  14. สมญาของยุคทองที่ใช้ในมุรลี Titles of the Golden age used in Murlis
  15. วรรณะ วงศ์ พงศ์ Dynasties
  16. ประชาบิดา พรหมา Prajapita Brahma
  17. การยกย่องสรรเสริญของศรีกฤษณะในหนทางภักดี Praise of the Deity Shri Krishna
  18. นักแสดงหลักในละครโลก Main Actors in the World Drama
  19. มรดกของบรมบิดา Inheritance of the Supreme Father
  20. สมญาของครอบครัว Family Titles
  21. สมญาเพื่อความเคารพในตนเอง Titles for Self-Respect
  22. ดอกไม้ Flowers
  23. ผู้บริหารและผู้อาวุโสของประชาบิดา พรหมากุมารี อิศวรียะ วิศว วิทยาลัย Administrators and Seniors of Prajapita Brahma Kumaris World Spiritual University
  24. สภาพต่างๆ และ การฝึกฝน เพ่งเพียรปฎิบัติของอาตมา Spiritual Stages and Effort
  25. ละครโลก กัลป์ และยุคต่างๆ World Drama, Kalpa and Yugs
  26. ชัคทัมพา สรัสวดี Jagadamba Saraswati
  27. กรรมและผลของกรรม Karma Philosophy
  28. สามโลก และธาตุของธรรมชาติ The Three Worlds and Elements of Nature
  29. เบ็ดเตล็ด Miscellaneous
กลับสู่หน้าหลัก Main page
ประเภทที่แสดง --> 25. ละครโลก กัลป์ และยุคต่างๆ World Drama, Kalpa and Yugs

ใส่คำที่ต้องการค้นหา แล้วกดปุ่ม
ปิด-เปิด Column ที่ต้องการ 12345
No.1. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบปรับรูป/หรือภาษาไทยใช้ 2. การเขียนทับศัพท์ภาษาไทยแบบคงรูป 3. ภาษาฮินดี 4. อักษรโรมัน 5. ความหมายในภาษาไทย
188รฆุปติ ราฆวะ ราชาราม/รฆุบดี ราฆพ ราชารามรฆุปติ ราฆว ราชา รามरघुपति राघव राजा राम Raghupati Rāghav Raja Ramรฆุบดี ราฆพ ราชาราม เป็นนามหนึ่งที่ยกย่องสรรเสริญรามของสีดาในเตรตายุค (ยุคเงิน) ซึ่งไม่ใช่รามผู้เป็นภควาน เช่นที่ในหนทางภักดีเข้าใจกัน

รฆุบดี ราฆพ ราชาราม หมายถึง ราชาราม ผู้เป็นเชื้อสายของรฆุกุล หรือ รฆุวงศ์ (ราฆพ) โดย รามเป็นบดี หรือ ผู้นำ ผู้ปกครองของรฆุกุล (รฆุบดี)

บดี แปลว่า ผู้ปกครอง ผู้สร้าง นาย สามี และ วงศ์ หรือ พงศ์ แปลว่า เชื้อสาย เหล่ากอ ตระกูล
214สังคมยุคสงฺคมยุคसंगमयुग
Saṅgamayug
สังคมยุค เป็นการบรรจบพบกันของสองยุค ระหว่างกลียุคที่กำลังจะจบสิ้นลงกับสัตยุคที่จะเริ่มขึ้น

ศิวพาพา ได้ลงมาในสังคมยุค และทำให้เกิดสภาพการไต่ขึ้นสูง (จรตีกลา) ของอาตมา และเป็นยุคแห่งบุณย์ (บุญ) ที่เป็นคุณประโยชน์และดีงาม

จรตีกลา มีความหมายตรงข้ามกลับ อุตรตีกลา ที่หมายถึง สภาพของการตกต่ำลงมา

สังคม หมายถึง การพบกัน บรรจบกัน เชื่อมโยงกัน
229วิราฏรูปวิราฏ รูปविराट रूप
Viiāṭ rūp
ในราชโยคะ วิราฏรูป คือ การบรรยายถึงสภาพของความบริสุทธิ์และคุณสมบัติต่างๆ ของอาตมาทั้งจักร (วงจร) ผ่าน 5 วรรณะ นั่นคือ 5 ยุค ที่แสดงผ่านส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ใหญ่โตของของวิษณุ ได้แก่ 1. พราหมณ์ (สังคมยุค) คือ สภาพจรตีกลา ของการไต่ขึ้นสูง แสดงด้วยจุก สูงสุดของร่างกาย 2. เทวดา (สัตยุค) คือ สภาพสโตประธาน แสดงด้วยหน้าผาก ใบหน้าของร่างกาย 3. กษัตริย์ (เตรตายุค) คือ สภาพสโต แสดงด้วยไหล่ อกของร่างกาย 4. แพศย์ (ทวาปรยุค) คือ สภาพรโช แสดงด้วยท้องของร่างกาย 5. ศุูทร (กลียุค) คือ สภาพตโมประธาน แสดงด้วยเท้าของร่างกาย

พาพากล่าวว่า วิราฏรูป ของหนทางภักดี ไม่ได้แสดงจุก หมายถึง พราหมณ์ ของสังคมยุค และ ศิวพาพา ผู้เปลี่ยนพราหมณ์ให้เป็นเทวดาของสัตยุค

ใน "มหาภารตะ" ได้กล่าวว่า กฤษณะให้สากษาตการแก่อรชุน เห็นวิราฏรูป ของวิษณุที่ใหญ่โต เพื่อให้อรชุนได้รู้ถึงเรื่องราวทั้งจักรผ่านวิราฏรูป และยอมรับว่ากฤษณะ คือ ภควาน

จรตีกลา มีความหมายตรงข้ามกลับ อุตรตีกลา ที่หมายถึง สภาพของการตกต่ำลงมา

วิราฏะ แปลว่า ใหญ่โต
231วิกรมราชาวิกรมี ราชา विक्रमी राजा
Vikramī Rājā
พาพา ได้กล่าวถึง วิกรรมาชีตสังวัต กับ วิกรมสังวัต

วิกรรมาชีตสังวัต หมายถึง ยุคของการเอาชนะการกระทำบาป ได้แก่ ช่วงเวลาของสัตยุค (ยุคทอง) เตรตายุค (ยุคเงิน) ที่มีการกระทำเป็นอกรรม ซึ่งราชาผู้ปกครองมีนามว่า วิกรรมาชีตราชา

วิกรมสังวัต หมายถึง ยุคของการกระทำที่เป็นบาป เริ่มตั้งแต่ทวาปรยุค (ยุคทองแดง) เป็นต้นมา และกลียุค (ยุคเหล็ก) ซึ่งราชาผู้ปกครองมีนามว่า วิกรมราชา (ผู้ที่มีศักดิ์ อำนาจ กำลังทางร่าง)

ในทางโลก ได้ระบุว่าวิกรมสังวัต เริ่มเมื่อ 57 ปี ก่อนคริสต์ศักราช หรือ พุทธศักราชที่ 486 ในยุคของราชาวิกรมาทิตย์ของอินเดียโบราณ ได้ชื่อว่าเป็นราชาที่กล้าหาญและมีหัวใจที่กว้างใหญ่ จึงเป็นแบบอย่างและสมญาของราชาทั้งหลายในเวลาต่อมา

ทั้งนี้ เมื่อทวาปรยุคได้ผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง พรหมาได้เป็นราชา ซึ่งมีนามว่า วิกรมาทิตย์ ผู้เริ่มทำภักดีสร้างวัดโสมนาถ ด้วยการใช้เพชรโคอินัวร์ (โคอินูร์) เจียระไนเป็นศิวลึงค์ไว้ในวัด เป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพา

วิกรรมาชีตะ มาจากคำว่า วิกรรม หมายถึง การกระทำที่เป็นบาป ชีตะ หมายถึง ชัยชนะ สังวัต หมายถึง ยุค สมัย วิกรม หมายถึง ศักดิ์ อำนาจ กำลัง และ โคอินัวร์ (โคอินูร์) มีความหมายตามตัวอักษรในภาษาเปอร์เซียว่า "ภูเขาแห่งแสง"
232วิกรรมาชีตราชาวิกรรมาชีตะ ราชาविकर्माजीत राजा
Vikārmajīt Rājā
พาพา ได้กล่าวถึง วิกรรมาชีตสังวัต กับ วิกรมสังวัต

วิกรรมาชีตสังวัต หมายถึง ยุคของการเอาชนะการกระทำบาป ได้แก่ ช่วงเวลาของสัตยุค (ยุคทอง) เตรตายุค (ยุคเงิน) ที่มีการกระทำเป็นอกรรม ซึ่งราชาผู้ปกครองมีนามว่า วิกรรมาชีตราชา

วิกรมสังวัต หมายถึง ยุคของการกระทำที่เป็นบาป เริ่มตั้งแต่ทวาปรยุค (ยุคทองแดง) เป็นต้นมา และกลียุค (ยุคเหล็ก) ซึ่งราชาผู้ปกครองมีนามว่า วิกรมราชา (ผู้ที่มีศักดิ์ อำนาจ กำลังทางร่าง)

ในทางโลก ได้ระบุว่าวิกรมสังวัต เริ่มเมื่อ 57 ปี ก่อนคริสต์ศักราช หรือ พุทธศักราชที่ 486 ในยุคของราชาวิกรมาทิตย์ของอินเดียโบราณ ได้ชื่อว่าเป็นราชาที่กล้าหาญและมีหัวใจที่กว้างใหญ่ จึงเป็นแบบอย่างและสมญาของราชาทั้งหลายในเวลาต่อมา

ทั้งนี้ เมื่อทวาปรยุคได้ผ่านไปชั่วระยะหนึ่ง พรหมาได้เป็นราชา ซึ่งมีนามว่า วิกรมาทิตย์ ผู้เริ่มทำภักดีสร้างวัดโสมนาถ ด้วยการใช้เพชรโคอินัวร์ (โคอินูร์) เจียระไนเป็นศิวลึงค์ไว้ในวัด เป็นอนุสรณ์ให้กับศิวพาพา

วิกรรมาชีตะ มาจากคำว่า วิกรรม หมายถึง การกระทำที่เป็นบาป ชีตะ หมายถึง ชัยชนะ สังวัต หมายถึง ยุค สมัย วิกรม หมายถึง ศักดิ์ อำนาจ กำลัง และ โคอินัวร์ (โคอินูร์) มีความหมายตามตัวอักษรในภาษาเปอร์เซียว่า "ภูเขาแห่งแสง"
258บร/บระบรबड़
baṛ
บระ เป็นคำภาษาสินธี หมายถึง ต้นบันยัน หรือ ต้นไทรของประเทศไทย

บันยันมีลักษณะส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งอิงอาศัย มีรากอากาศมีความยาวลงถึงพื้นจนดูเหมือนกับมีลำต้นมากมายเกิดขึ้นมาเต็มไปหมด กิ่งก้านสาขาแผ่กว้างจนนับได้ว่าเป็นต้นไม้ที่แผ่กว้างมากที่สุดในโลก

พาพาได้กล่าวถึง ต้นบันยันที่ลำต้นเดิมได้หายไป และมีกิ่งก้านสาขาแผ่กว้างออกไป โดยลำต้นเปรียบเทียบกับอาทิ สนาตน เทวี เทวดาธรรม ในสัตยุค (ยุคทอง) และเตรตายุค (ยุคเงิน) ที่ได้หายไป เหลือเพียงร่องรอยหรืออนุสรณ์ในหนทางภักดีเท่านั้น และกิ่งก้านเปรียบเทียบธรรมอื่นๆ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ทวาปรยุค (ยุคทองแดง) เป็นต้นมา

บันยัน เป็นต้นไม้ประจำชาติอินเดีย

อาทิ แปลว่า ต้น แรก และ สนาตน แปลว่า เป็นนิตย์ คือ ไม่สิ้นสุด ไม่รู้จักตาย
275จันทรวงศีจนฺทฺรวงฺศีचन्द्रवंशी
candravaṃśī
ผู้ที่เป็นของจันทรวงศ์

จันทรวงศ์ มีสภาพที่เศรษฐ์ในเตรตายุค (ยุคเงิน) แต่สุริยวงศ์นั้นเศรษฐ์ที่สุดในสัตยุค (ยุคทอง)

วงศ์ หรือ พงศ์ แปลว่า เชื้อสาย เหล่ากอ ตระกูล และ เศรษฐ์ แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ
312กพริสตาน/กพริสถาน (อ่านว่า กะ-พฺริ-สฺถาน)กพฺริสฺตานकब्रिस्तान
kabristān
กพริ แปลว่า หลุมฝังศพ ดังนั้นกพริสถาน หมายถึง สุสาน

พาพากล่าวว่า ทุกสิ่งในโลกกลียุคนี้ กำลังจะจบสิ้นลง และกลายเป็นเช่น กพริสถาน นอกจากนี้ ยังหมายถึง ในสังคมยุคนี้พาพาได้มาปลุกมนุษย์ทั้งหลายให้ตื่นขึ้นมาจากสภาพอญาณ ที่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ
314กัลป์ (อ่านว่า กัน) กลฺปकल्प
kalp
หนึ่งรอบวงจรของ 5,000 ปี

หนึ่งกัลป์ ประกอบด้วย 5 ยุค โดยมี 4 ยุค ยุคละ 1,250 ปี ได้แก่ สัตยุค (ยุคทอง) เตรตายุค (ยุคเงิน) ทวาปรยุค (ยุคทองแดง) กลียุค (ยุคเหล็ก) และ ยุคที่ 5 เรียกว่า ปุรุโษตตมสังคมยุค หมายถึง ยุคของการบรรจบพบกันทำให้อาตมากลายเป็นมนุษย์ที่สูงส่งที่สุด ที่ซ้อนขึ้นมาในปลายกลียุคที่มาบรรจบกับสัตยุค และเป็นยุคที่พาพาได้ลงมาสอนราชโยคะแก่ลูก
325กุมภ์ กุมฺภकुम्भ
kumbh
กุณโฑ คนโท หรือ หม้อน้ำที่ทำมาจากดินเหนียวหรือโลหะที่ใช้เก็บน้ำ

ในราชโยคะ กุมภ์ หมายถึง สังคมยุค ซึ่งเป็นการพบปะของอาตมาและ บรมาตมา ระหว่างวงจรเก่ากับวงจรใหม่ที่บรรจบกันระหว่างกลียุคกับสัตยุค
403สุริยวงศีสูรฺยวงฺศีसूर्यवंशी
sūryavaṃśī
ผู้ที่เป็นของสุริยวงศ์ โดยสุริยวงศ์มีสภาพเศรษฐ์ที่สุดในสัตยุค (ยุคทอง)

วงศ์ หรือ พงศ์ แปลว่า เชื้อสาย เหล่ากอ ตระกูล และ เศรษฐ์ แปลว่า ดีเลิศ ดีที่สุด ยอดเยี่ยม ประเสริฐ
414แพศยาลัย (อ่านว่า แพด-สะ-หฺยา-ลัย)เวศฺยาลยवेश्यालय veśyālayสถานการค้าประเวณี หรือ ซ่องโสเภณี

พาพามาเปลี่ยนโลกจากแพศยาลัยที่เต็มไปด้วยกิเลส โดยเฉพาะกาม (ตัณหา ราคะ) ของนรก ให้กลายเป็นศิวาลัยแห่งสวรรค์

แพศยาลัย มาจากคำว่า แพศยา หมายถึง โสเภณี หญิงสำส่อน กับอาลัย หมายถึง ที่อยู่ ที่พัก และ ศิวาลัย มาจากคำว่า ศิวะ กับ อาลัย หมายถึง ที่อยู่ ที่พัก





You are visitors No.3077 since 16th September 2024.

© 2024 Brahma Kumaris Thailand. All rights reserved.